วันที่ 22 มกราคม 2567 คณะผู้ประเมินจากศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ให้ดำเนินโครงการ “การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของแผนงานชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดยโครงการวิจัยเรื่อง “การยกระดับการจัดการเชิงพื้นที่ด้วยการใช้นวัตกรรม: เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเสีย และสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี” โดยมี รศ.ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ มทร.ธัญบุรี เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งได้รับทุนภายใต้กรอบชุมชนนวัตกรรมประจำปี 2563 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในโครงการตัวอย่างสำหรับการประเมินผลลัพธ์ ผลกระทบ โดยมีการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด 4 ชุดโครงการ ได้แก่
ลงพื้นที่ดูงาน ชุดโครงการ นวัตกรรมเพื่อการจัดการทรัพยากรทางสังคมและเศรษฐกิจแบบองค์รวมในพื้นที่ตลาดไทและชุมชนต้นแบบ: เคหะรังสิตคลองหก จ.ปทุมธานี ณ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) เคหะรังสิตคลองหก ต.คลองหก อ .คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดย ดร.ไฉน น้อยแสง คณะการแพทย์บูรณาการ
ลงพื้นที่ดูงาน ชุดโครงการ การออกแบบและสร้างเครื่องแยกเส้นใยธรรมชาติแบบกึ่งอัตโนมัติ ณ ศูนย์เรียนรู้สัมมาชีพชุมชน ต.คลองหก อ .คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดย ผศ.ดร.มานพ แย้มแฟง คณะวิศวกรรมศาสตร์
ลงพื้นที่ดูงาน ชุดโครงการ การพัฒนาเส้นใยธรรมชาติเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าสู่เชิงพาณิชย์ : กรณีศึกษาห่วงโซ่การผลิตเส้นใยผักตบชวา ผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรม ณ รุ่งทิวาผ้ามัดย้อม ต.บึงสนั่น อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โดย รศ.ดร.สาคร ชลสาคร และ ผศ.ดร.ศุภนิชา ศรีวรเดชไพศาล คณะคหกรรมศาสตร์
ลงพื้นที่ดูงาน โครงการ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลเส้นผมจากข้าวไรเบอร์รี่อินทรีย์และวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของชุมชนบึงสมบูรณ์ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี และบริษัท เอ็มที เนเชอรอลเฮิร์บ จำกัด ต.บ้านใหม่ อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี โดย รศ.ดร.กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์ คณะการแพทย์บูรณาการ