กิจกรรมรายงานความก้าวหน้าระยะ 6 เดือน โครงการ “การขยายผลวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสม” (Appropriate Technology) ภายใต้กรอบการวิจัย “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ประจำปี 2566 วันที่ 6 มกราคม 2567 ณ โรงแรมเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ ห้องประชุม The Lounge ชั้น 10

กิจกรรมรายงานความก้าวหน้าระยะ 6 เดือน โครงการ “การขยายผลวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสม” (Appropriate Technology) ภายใต้กรอบการวิจัย “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ประจำปี 2566 แผนงานย่อย (โปรแกรม 11) การเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขันสามารถพึ่งพาตนเองได้และกระจายรายได้สู่ชุมชน/ท้องถิ่น) วันที่ 6 มกราคม 2567 ณ โรงแรมเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ ห้องประชุม The Lounge ชั้น 10

กล่าวต้อนรับท่านประธาน ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิจัยทุกท่าน
โดย รศ.ดร. สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดี และที่ปรึกษาโครงการชุดประสานงานฯ ชุมชนนวัตกรรม

พิธีเปิดกิจกรรม โดย ท่านธานินทร์ ผะเอม ผู้ทรงคุณวุฒิ ประธานคณะกรรมการ ฯ กล่าวสวัสดีปีใหม่ 2567 และอวยพรนักวิจัยและทีมงานให้ประสบแต่ความสุขทั้งกายและใจ และมีพลานามัยที่แข็งแรงและกล่าวถึงโครงการ apptech ว่า โครงการ apptech เปรียบเสมือนการต่อแขนต่อขาของงานวิจัยที่ได้รับการพิสูจน์ในระดับนึง งานในวันนี้จะเป็นจุดพิสูจน์คุณค่าของทางที่บพท. นั้นได้ทำเพื่อให้องค์ความรู้ ที่มีผลในทางปฏิบัติจริงจนไปถึงในระดับท้องถิ่นชุมชนและพื้นที่ บทบาทของ บพท.ที่จะเป็นการเน้นย้ำในการในการพึ่งพาตนเองเป็นการต่อแขนขาขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่อให้คนไทยในระดับพื้นที่ท้องถิ่นชุมชนนั้นยืนอยู่ได้ โดยใช้องค์ความรู้ และกระบวนการ Empowerment ที่ทางบพท.นั้นทำมาอย่างต่อเนื่องให้เกิดผล ตรงนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย นักวิจัยที่กระจายอยู่ในประเทศ ทุกภาคส่วนที่เราต้องช่วยกันทั้งนักวิจัยทางกลไกระดับพื้นที่ทั้งภาคธุรกิจเอกชนและหวังวันนี้จะเป็นอีก step นึงที่จะทำให้ปีกนี้สามารถนำประโยชน์ต่อเชื่อมไปถึงพื้นที่ท้องถิ่นและชุมชน

กล่าวชี้แจงเป้าหมายการจัดกิจกรรม โดย รศ.ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ ผู้ช่วยอธิการบดี มทร.ธัญบุรี และหัวหน้าชุดประสานงานฯ ชุมชนนวัตกรรม เพื่อวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลชุดโครงการทั้ง 7 โครงการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังข้อเสนอที่เป็นประโยชน์จากผู้ทรงคุณวุฒิอันนำไปสู่การดำเนินการวิจัยที่ชัดเจนต่อไป และการกำหนดระดับของนวัตกร ที่สร้างขึ้นมาจะต้องเป็นแกนนำชาวบ้านหรือกลุ่มเป้าหมายที่เขาได้รับการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จนนวัตกรสามารถรับแล้วก็ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทได้ รวมทั้งวิจัยท่านนั้นจะต้องถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้อื่นได้ มีทักษะความสามารถในการจัดลำดับความรู้ไปแก้ไขปัญหาในชุมชนได้อย่างยั่งยืน โดยตัวชี้วัดจะแบ่งออกเป็น 3 มิติดังนี้ มิติที่ 1 ด้านเครือข่ายความร่วมมือ มิติที่ 2 ด้านความรู้เเละการใช้เทคโนโลยี มิติที่ 3 ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ชุมชน ทั้งนี้หัวหน้าโครงการวิจัยทั้ง 7 โครงการได้ที่รับสนับสนุนโครงการวิจัย ได้มีการรายงานความก้าวหน้า เพื่อขอรับข้อเสนอเเนะที่เป็นประโยชน์จากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อนำไปปรับปรุงเเก้ไขการดำเนินโครงการให้บรรลุจุดประสงค์ของกรอบงานวิจัยที่ได้ตั้งไว้

Scroll to Top